จิตรกรรมฝาผนังในวังฟาร์เนเซ ของ อันนีบาเล การ์รัชชี

พระเยซูหนีไปอียิปต์” (ค.ศ. 1603)

เพราะความมีฝีมือในการเขียนจิตรกรรมฝาผนังในโบโลนยาดยุครานุคชิโอที่ 1 ฟาร์เนเซแห่งพาร์มา (Ranuccio I Farnese) จึงได้แนะนำคารัคชีแก่น้องชายคาร์ดินัล โอโดอาร์โด ฟาร์เนเซ (Odoardo Farnese) ผู้มีความประสงค์จะตกแต่งบริเวณเอกของวังฟาร์เนเซ (Palazzo Farnese) ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของปี ค.ศ. 1595 อันนีบาเลและอากอสติโนก็เดินทางไปกรุงโรมเพื่อไปเริ่มงาน “คาเมริโน” ด้วยเรื่องเฮอร์คิวลีสซึ่งเป็นการเหมาะสมเพราะเป็นห้องที่เป็นที่ตั้งของรูปปั้นกรีก-โรมันโบราณของเฮอร์คิวลีสแห่งฟาร์เนเซที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อที่มีชื่อเสียง

ขณะเดียวกันอันนีบาเลก็เขียนภาพร่างเป็นจำนวนมากมายเพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับโครงการเอกที่อันนีบาเลเป็นผู้นำ ภาพที่เขียนเป็นจิตรกรรมฝาผนังบนเพดานของห้องแกรนด์ซาลอนด้วย “quadri riportati” ที่มิใช่หัวเรื่องทางศาสนาของภาพ “ความรักของเทพ” (The Loves of the Gods) หรือที่นักเขียนชีวประวัติจิโอวานนิ เบลโลริ (Giovanni Bellori) บรรยายว่าเป็น “ความรักของมนุษย์ที่นำโดยความรักสวรรค์” แม้ว่าภาพเขียนจะเต็มไปด้วยชีวิตจิตใจและจินตนาการแต่ภาพถูกจำกัดไว้ในกรอบการตกแต่งแบบเรอเนสซองซ์สูง งานชิ้นนี้ได้รับอิทธิพลจากงานบนเพดานของชาเปลซิสตินโดยไมเคิล แอนเจโลและงานเขียนในห้องราฟาเอลโดยราฟาเอลและผู้ช่วย งานชิ้นนี้ต่อมามามีอิทธิพลต่องานจิตรกรรมแบบบาโรกชิ้นใหญ่ของเปียโร ดา คอร์โทนา (Pietro da Cortona), จิโอวานนิ ลันฟรานโค (Giovanni Lanfranco) และอีกหลายสิบปีต่อมาในงานเขียนของอันเดรีย พอซโซ (Andrea Pozzo) และ จิโอวานนิ บัตติสตา จาอุลลิ (Giovanni Battista Gaulli)

ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 จิตรกรรมฝาผนังในวังฟาร์เนเซถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกที่เหนือกว่างานชิ้นใดในยุคนั้น ไม่แต่จะเป็นตัวอย่างของการออกแบบการเขียนภาพวีรบุรุษแต่ยังเป็นแบบอย่างการใช้วิธีการเขียนด้วย งานร่างเป็นร้อยๆ ชิ้นของอันนีบาเลสำหรับเพดานกลายมาเป็นการวางรากฐานการวางองค์ประกอบของงานเขียนภาพประวัติศาสตร์ใหญ่ๆ ต่อมา